lose yourself

getsunova006+1
67,877,210 ครั้ง (ขณะเขียนต้นฉบับ) คือยอด ผู้เข้าไปฟังเพลง “ไกลแค่ไหน คือ ใกล้” ของวงเก็ตสึโนวา บนยูทูบ กระทั่งครองตำแหน่งคลิปเพลงไทยที่มีผู้ชมมาก ที่สุด นอกจากจำนวนผู้ชมที่ล้นเหลือแล้ว ความน่าทึ่งอีกอย่างก็คือ คลิปดังกล่าวไม่ได้เป็นมิวสิกวิดีโอ แต่เป็น คลิปเพลงพร้อมภาพนิ่งของสี่หนุ่มสมาชิกวงเก็ตสึโนวา คนหนึ่งใส่แว่นกันแดด ส่วนอีกสามคนสวมผ้าปิดไว้ ครึ่งหน้า เรากำลังจะบอกว่าความดังระเบิดนี้เกิดขึ้น จากตัวเพลงล้วนๆ

 

วงเก็ตสึโนวา เป็นการรวมตัวของกลุ่มเพื่อนผู้ รักดนตรีทั้งสี่ โดยมี เนม-ปราการ ไรวา เป็นผู้เริ่มต้น จุดชนวนในระหว่างเรียนอยู่ที่ประเทศอังกฤษ “ตอนนั้น เนมเพิ่งเรียนจบมัธยมที่อังกฤษ และรู้ว่านาฑี (นาฑี โอสถานุเคราะห์) เพื่อนที่อังกฤษกลุ่มเดียวกันเล่น กีตาร์ได้ เลยชวนมาทำวง” เนมเล่าย้อนกลับไปถึง วันที่เริ่มเฟ้นหาสมาชิก “จากนั้นนาฑีเลยชวนนต (ปณต คุณประเสริฐ) ที่ไปเรียนอังกฤษเหมือนกันมา ร่วมวง แล้วนตก็ไปชวนไปป์ (คมฆเดช แสงวัฒนาโรจน์) ซึ่งเป็นเพื่อนกันและเคยทำวงด้วยกันมาก่อน” แม้จะมี จุดเริ่มต้นในการรวบรวมสมาชิกแบบเพื่อนชวนเพื่อน คล้ายกับวงอื่นๆ แต่สิ่งที่แตกต่างคือสมาชิกทั้งสี่คน ไม่ได้อยู่ประเทศเดียวกันในขณะนั้น “ช่วงมหา’ลัย นาฑีก็ไปเรียนอเมริกา ส่วนเนมกับนตยังอยู่ที่อังกฤษ และโชคดีที่บ้านอยู่ใกล้กัน นตก็จะทำเพลงขึ้นมา เขียนเนื้อแล้วเอามาให้ผมฟัง เราเลยลองไปร้องกัน พอร้องเสร็จก็ส่งให้นาฑีที่อยู่อเมริกาและไปป์ที่อยู่ เมืองไทยได้ฟัง เราทำกันได้แค่นั้น จากนั้นพอช่วง ปิดเทอมได้กลับมาเมืองไทยก็จะมาเข้าห้องอัดกัน” เนมนักร้องนำของวงอธิบาย ก่อนที่นตจะเสริมว่า “ปีนึงเราจะหยุดและกลับมาเมืองไทยประมาณสามครั้ง กลับมาครั้งนึงก็ประมาณหนึ่งเดือน จะมีเวลาค่อนข้าง น้อยก็ต้องรีบๆ ทำให้เสร็จ คือทุกครั้งที่กลับมาเมือง ไทยเราจะได้เดโมเพลงใหม่เพิ่มขึ้นมา”

 
ก่อนที่เพลง “ไกลแค่ไหน คือ ใกล้” จะเป็นที่รู้จัก ไปทั่วบ้านทั่วเมือง วงเก็ตสึโนวาเคยมีอีพีอัลบั้มมาแล้ว สองชุดคือ The First Single และ Electric Balloon ซึ่ง ต้องยอมรับว่าน้อยคนนักจะรู้จัก “จริงๆ ก่อนหน้านี้ เราเคยปล่อยเพลงมาแล้ว 6 ซิงเกิล แต่เพลงมันไม่ได้ โปรโมท ไม่ได้ออกไปเล่นที่ไหน เพราะพอทำเพลงเสร็จ เราก็ต้องกลับไปต่างประเทศทุกครั้ง” นต มือแต่งเพลง ตัวฉกาจของวงเล่า “พอเรียนจบกันหมด ทุกคน กลับมาอยู่พร้อมหน้าที่เมืองไทยและได้ทำเพลงกัน อย่างเต็มที่ มันมีเวลาให้หายใจ ไม่ต้องรีบทำ และ เราได้เปลี่ยนโปรดิวเซอร์ใหม่เป็นพี่พล วงแคลช (คชภัค ผลธนโชติ) ก็ต้องทำการจูนกันนิดนึง ตัวผม ก็ไปเรียนเขียนเนื้อเพิ่มเติม พี่เนมเองก็ได้ไปเรียน ร้องเพลงเพิ่มเติม” และหลังจากนั้นพวกเขาก็ร่วมกัน ทำเพลง “ไกลแค่ไหน คือ ใกล้” ซึ่งถือเป็นเพลงแรก ที่พวกเขาทำร่วมกันบนแผ่นดินเดียวกันก็ว่าได้ แน่นอนว่าจากประสบการณ์จากซิงเกิลก่อนหน้านั้น พวกเขาคงไม่คิดว่าจะดังเปรี้ยงปร้างขนาดนี้ “ผมคิดว่า เป็นเพราะเนื้อหาของเพลง ทุกคนมันมีอารมณ์ “ไกล แค่ไหน คือ ใกล้” มันไม่ได้เกี่ยวกับความรักอย่างเดียว มันเกี่ยวกับงานและชีวิตด้วย ทุกคนต้องมีจุดมุ่งหมาย อีกอย่างด้วยเมโลดี้ของมัน จึงสามารถฟังได้เรื่อยๆ” นตผู้จรดปากกาแต่งเพลงนี้เล่าต่อว่า “ตอนที่ผมเขียน เพลงที่ให้พี่เนมร้องเป็นเดโม เรายังมองหน้ากันว่ามัน จะฟังดูงงๆ ไหม ค่ายเพลงจะเอาไหม แต่พอเสร็จแล้ว หลายคนเข้าใจสิ่งที่เรานำเสนอ” พวกเขาเล่าว่าเคยมี การคุยกันแบบติดตลกว่าถ้าเพลงนี้แป้กอีก อาจจะเลิก ทำเพลงกันไปเลย แต่สุดท้ายกลับพลิกล็อกถล่มทลาย ด้วยจำนวนผู้ชมบนยูทูบที่ไต่สูงขึ้นเรื่อยๆ “ผมว่าล้าน แรกนี่มันตื่นเต้นกว่า 30-40 ล้านอีกนะ เพราะวงเรา ไม่เคยมีเพลงถึงล้านมาก่อน แล้วตอนนั้นเรายังไม่ได้ ออกสื่อเยอะ มันเลยมาจากตัวเพลงอย่างเดียว” ขณะที่นตพูด อีกสามหนุ่มก็พร้อมใจกันส่งเสียงเห็นด้วย “เมื่อก่อนยูทูบและเฟซบุ๊กมันไม่ได้ทำหน้าที่โปรโมท มากเท่าตอนนี้ อย่างตอนเราปล่อยซิงเกิลแรกลงยูทูบ คนดูหลักหมื่นก็หล่อแล้ว”

 

ชื่อวงเก็ตสึโนวาผุดขึ้นในหัวของเนมอย่างไม่มี ที่มาที่ไป โดย ‘เก็ตสึ’ เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่าพระจันทร์ ส่วน ‘โนวา’ เป็นภาษาอังกฤษแปลว่าระเบิด รวมกันเป็น ‘พระจันทร์ระเบิด’ ก่อนหน้าจะเป็นเก็ตสึโนวา ในช่วง แรกของรวมตัวกัน พวกเขาเคยใช้ชื่อวงแปลกๆ อย่าง แพนด้า และสแวร์ (Swear แบรนด์รองเท้ายอดฮิตสัญชาติอังกฤษ) ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อเพลง “ไกลแค่ไหน คือ ใกล้” และเก็ตสึโนวาเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ผู้คนก็พากันเสิร์ชหาผลงานเก่าๆ ของพวกเขาบนยูทูบ มาฟังกัน ตามด้วยซิงเกิลล่าสุด “แตกต่างเหมือนกัน” นตพูดถึงเพลงนี้ว่า “หลายคนถามว่ากดดันหรือเปล่า ซิงเกิลใหม่จะเป็นยังไง เพลงนี้หลายคนน่าจะตกใจที่ เราปล่อยเป็นเพลงเร็ว เพราะหลังจากที่ “ไกลแค่ไหน คือ ใกล้” เป็นเพลงช้าจนหลายคนเข้าใจว่าเก็ตสึโนวา เป็นอีซี่ลิสซึนนิ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วกลับไปดูงานเก่าๆ ของ เราเนี่ย จะมีเพลงเร็วด้วย บางเพลงมีความเป็นอินดี้ ด้วยซ้ำไป เพลงนี้เราเลยอยากนำเสนอความเป็น เก็ตสึโนวามากขึ้น มีความเป็นบริตร็อกและอินดี้มากขึ้น แต่ตัวลายเซ็นของเนื้อผมว่ามันก็มีความชัดเจนขึ้น คือชื่อเพลงมีความขัดแย้งอยู่ในตัว” สำหรับเพลงนี้ นตยังคงรับหน้าที่แต่งเนื้อร้องและทำนองเหมือนเคย “ผมเรียกเพลงนี้ว่าเป็นมินิมัลร็อก มันเป็นเพลงร็อก แบบเล็กๆ มันมีความรู้สึกอึนๆ อยู่ ทำให้ฟังแล้ว อยากเต้น อยากสนุกด้วย” สำหรับอัลบั้มเต็มนั้น เนมบอกว่ากำลังอยู่ในระหว่างการรวบรวมเพลงของ เก็ตสึโนวาให้ออกมาเป็นอัลบั้มหรืออีพี

 
“มันเริ่มมาจากความสนุกอย่างเดียวเลย ไม่ได้มีแฟชั่นหรือเหตุผลอะไร” นตพูดถึงประเด็น การสวมผ้าปิดบังใบหน้า “อาจมีช่วงหลังๆ ที่เรารู้สึก ว่า วงดนตรีส่วนใหญ่ต้องขายความหล่อ ความเท่ ทุกวงต้องใส่สูท เราเลยขอไม่ใส่สูทละกัน แต่ยังเท่ และมีความสนุกเข้ามาด้วย โดยเฉพาะเวลาไปเล่นสด มันถือเป็นสีสันอย่างหนึ่ง ผมกับไปป์จะใส่ในช่วงแรกๆ แต่หลังๆ ก็อาจถอดออก แต่นาฑีนี่ใส่ตลอด จนบางครั้ง มีคนดูมายืนข้างๆ แล้วก็ตะโกนบอกให้ถอดออก” นตเล่าแบบขำๆ นาฑีที่แทบไม่พูดอะไรเลยตลอดการ สัมภาษณ์ก็ถึงขั้นเอ่ยปากว่า “บางครั้งมันก็น่ากลัว เหมือนกัน บางคนก็ไม่ได้มานิ่มๆ แบบว่าขอดูหน่อย เขามาตะโกนใส่เลย แต่ผมก็ไม่ถอดนะ” นาฑีหัวเราะ แม้ขณะนั่งคุยกันเขาไม่ได้สวมผ้าปิดหน้า แต่ก็ยัง สวมแว่นกันแดด “จริงๆ ก่อนหน้านี้เราก็เคยเปิดหน้าให้เห็นทุกคนนะ แต่เพิ่งมาปิดในตอนหลัง” เนมกล่าว เสริม “เมื่อก่อนเปิดแล้วไม่ดังไง พอปิดแล้วถึงดัง” น้อยคนนักจะรู้ว่าเมื่อไม่ได้สวมบทมือกีตาร์ นาฑีเป็น อาจารย์สอนนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งด้วย ซึ่งถึงจะปิดบังใบหน้าไว้ตลอด แต่ก็มีลูกศิษย์จำได้ “มีเด็กๆ เข้ามาเขียนในยูทูบไง อาจารย์นาฑี อาจารย์ ผมเอง” นตพูดแซว

 

 

 

เมื่อชื่อเสียงเรียงนามของสมาชิกทุกคนถูกเปิดเผย และนำไปสู่ความจริงที่ว่าพวกเขาล้วนเป็นทายาท ของครอบครัวที่มีฐานะ มีธุรกิจใหญ่โต จึงหนีไม่พ้นที่ จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น ‘ลูกไฮโซมาร้องเพลง’ แต่สุดท้ายสี่หนุ่มผู้รักดนตรีก็ค้านประเด็นนี้ด้วยการ พิสูจน์ให้เห็นว่า ทุกคนรู้จักเพลงของพวกเขา ก่อนที่ จะได้รู้จักตัวตนหรือหน้าตาของพวกเขาเสียอีก “ใครจะว่าเราเป็นไฮโซลูกคุณหนูยังไง ตอนไปทัวร์ ตามต่างจังหวัด เราก็นอนโรงแรมโหดๆ มาหมดแล้ว เจ้าภาพเขาจองให้ยังไง เราก็ต้องนอน” ไปป์ที่เงียบ มาตลอดเอ่ยปากเล่าในตอนท้ายอย่างสนุก “โรงแรม แบบกึ่งม่านรูดคืนละสามร้อยก็นอนมาแล้ว ห้องที่ กระจกมีรอยกระสุนก็เคยนอนมาหมดแล้ว”

 

เรื่อง: ณัฐวุฒิ แสงชูวงษ์
ภาพ: ไชยวัฒน์ ไชยโชติ
สถานที่: ห้องอาหาร tapas y vino โรงแรม grand millennium
โทร. 0-2204-4000

 

 

 

 

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply