นิทรรศการผ้าบาติกในพระปิยมหาราช “สายสัมพันธ์สยามและชวา” ชุดใหม่

เริ่มต้นกันอย่างเป็นทางการเรียบร้อยกับงานนิทรรศการผ้าบาติกในพระปิยมหาราชชุดใหม่ที่ครั้งนี้ได้รวบรวมผ้าบาติกที่พระองค์ท่านทรงสะสมและหาชมได้ยากมาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเป็นการระลึกถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนชวาสามครั้งของสมเด็จพระุจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในส่วนของห้องจัดแสดงนิทรรศการผ้าบาติกในพระปิยมหาราชชุดใหม่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทั้ง 2 ห้องถือว่าเป็นไฮไลท์ของการจัดแสดงในครั้งนี้ ซึ่งภายในห้องจัดแสดงจะมีผ้าบาติกหลากหลายผืนที่พระองค์ท่านทรงสะสมเก็บไว้เมื่อท่านทรงพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่เกาะชวา จำนวน 34 ผืน

โดยผ้าบาติกที่ถือว่าเป็นไฮไลท์ของงานคือผ้าบาติกลายสิริกิติ์เป็นผ้าที่สมเด็จพระพันปีหลวงได้รับมาเมื่อปี 1960 ซึ่งเป็นลายเดียวกันกับตอนที่ซูการ์โน่ อดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซียสมัยนั้นให้ช่างเขียนลองสร้างลายขึ้นมาหนึ่งลายที่สื่อถึงความงดงามของสมเด็จพระพันปีหลวง ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์ได้รับมาเมื่อตอนที่ลงพื้นที่ยอกยาการ์ตา ซึ่งความพิเศษคือลายผ้าผืนนี้ยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน

นอกจากนี้ยังมีเกร็ดเล็กน่ารู้เกี่ยวกับความเชื่อของชาวชวากับผ้าบาติกผืนนี้คือ การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสวมใส่ถ่ายภาพนั้นมีกฎเหล็ก 1 ข้อของการใส่ผ้าคือ ห้ามให้ผ้าบาติกผืนนี้หล่นตกพื้นโดยเด็ดขาดเพราะเป็นผ้าผืนที่มีความสวยงามและล้ำค่ากับชาวชวามากแม้แต่การจัดแสดงยังต้องใช้หุ่นลอยตัวเพื่อให้ผ้าไม่ตกลงพื้นอีกด้วย

ผ้าบาติกลายมิกาโด ที่ได้มาจากเมืองยอกยาการ์ตาจะเป็นลายผ้าที่มีรูปพัดญี่ปุ่นเต็มผืนผ้าจำนวน 20 ตัว  ซึ่งผืนหลังจะเป็นลายแบบชวาที่มีชื่อว่าลายกาวู ซึ่งเป็นลายผ้าลายนึงในพระราชสำนักแต่พอได้นำลายผ้าในพระราชสำนักมาผสมผสานกับลายอื่นคนทั่วไปก็จะสามารถซื้อใส่ได้ด้วยเช่นกัน

อีกหนึ่งผืนที่ถือว่าเป็นไฮไลท์เช่นกันคือ ผ้าบาติกลายปราดามีการสันนิษฐานว่า มาจากเมืองจิเรบอนชวาตะวันตก ซึ่งจะเป็นผ้าบาติกที่ใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ซึ่งจะพบเพียงหนึ่งผืนจากผ้าบาติกที่สะสมทั้งหมดนอกจากนี้ทางพิพิธภัณฑ์ยังได้บอกอีกว่าป้ายคำอธิบายที่เห็นนั้นจะเป็นป้ายคำอธิบายแบบดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์เลือกที่จะเก็บไว้เพื่อเป็นการรำลึกและสร้างคุณค่าของผ้าผืนนี้ได้มากยิ่งขึ้น

 

ผ้าบาติกรูปฟันปลาถือว่าเป็นลายที่หลายคนอาจจะมีคำถามว่าผ้าบาติกจำเป็นจะต้องมีหัวผ้าแบบรูปฟันปลาชนกันไหมจริงๆ คำตอบคือไม่จำเป็นเพราะอาจจะมาแค่ครึ่งเดียวก็ได้ เพราะว่าทางพิพิธภัณฑ์จะมีผ้าลักษณะนี้ 2 ผืน ซึ่งเป็นสไตล์ที่เก่าแก่พอสวมควร เพราะจริงๆ แล้วหัวผ้าแบบนี้ทั้งไทยและชวาจะได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดียที่ปลายผ้าจะเป็นลายคล้ายๆ กรวยเชิงหรือว่าฟันปลานั่นเอง

หลังจากชมนิทรรศการผ้าบาติกทั้งสองห้องเป็นที่เรียบร้อยแล้วอย่าลืมแวะเข้า Workshop วิธีการทำผ้าบาติกที่ได้รับความอนุเคราะห์จากสถานทูตอินโดนีเซีย  โดยภายในห้องจะมีการสาธิตวิธีการทำลายผ้าตั้งแต่การหยดแว็กซ์ตามลายเส้นที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดเตรียมไว้จนไปถึงการย้อมผ้าบาติกสีสันสวยงาม ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมการ Workshop ขั้นพื้นฐานที่สามารถนำกลับไปประยุกต์ใช้ในการทำผ้าบาติกโดยง่ายในชีวิตประจำวันได้ดีทีเดียว

สำหรับท่านใดที่สนใจเข้ารับชมนิทรรศการผ้าบาติกในพระปิยมหาราชชุดใหม่ในครั้งนี้ก็สามารถเข้าชมได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ณ หอจัดแสดง 3-4 พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในพระบรมมหาราชวัง เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 09:00 – 16:30 น. ปิดจำหน่ายบัตรเข้าชมเวลา 15:30 น. บัตรเข้าชมสำหรับผู้ใหญ่ ราคา 150 บาท ผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) ราคา 80 บาท นักเรียนหรือนักศึกษา (โปรดแสดงบัตรประจำวัน) และเด็ก 12-18 ปี ราคา 50 บาท เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ไม่เสียค่าใช้จ่าย